
หากใครได้เคยติดตามเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะรู้เลยว่าท่านเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาด้านการศึก ด้านการรบมากเพียงใด มีตำนานเกี่ยวกับสงครามต่างๆ มากมากมายที่ท่านได้จารึกชื่อเอาไว้ หัวของแม่ทัพนายกองคนแล้ว คนเล่าที่ต้องมาสิ้นชีพเมื่อต้องเจอกับ พระนเรศวร หนึ่งในตำนานสำคัญของพระนเรศวรคงต้องเป็นตำนานพรแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงอย่างแน่นอน
ตำนานพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง คืออะไร
ตำนานบทนี้ของสมเด็จพระนเรศวรนั้น ต้องย้อนความเกี่ยวกับคำว่า พระแสงปืนต้น ก่อน คำนี้เป็นคำราชาศัพท์เกี่ยวกับอาวุธตรงนี้ หมายถึงอาวุธปืน ซึ่งอาวุธปืนในยุคนั้นจะเป็นปืนยาวแบบยาวมาก ต้นฉบับจะเป็นปืนยาวแบบ ปืนคาบชุดไฟ แต่ในหนังเราเห็นกันนั้นเป็นปืนแบบคาบศิลา ซึ่งแตกต่างกันพอสมควรเรื่องของระบบการยิง
พอเข้าใจกันแล้วมาถึงตำนานพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงกันบ้าง เรื่องราวเกิดขึ้นหลังจากฝ่ายพระมหาอุปราชาทราบว่าทางสมเด็จพระเนศวร กำลังกวาดต้อนคนไทยกลับอยุธยาเพื่อกลับไปสร้างกองทัพขึ้นมาใหม่ นั่นทำให้ต้องหาทางหยุดไว้ให้ได้ก่อน จึงได้ส่งนายกองชื่อว่า สุรกรรมา มาเป็นกองแรกเพื่อติดตามพระนเรศวรให้ได้ สุรกรรมา จัดว่าเป็นนายกองฝีมือดี มากประสบการณ์ จึงเหมาะกับการไล่ล่ามากนัก แล้ว สุรกรรมา ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง เค้าได้ไล่ล่ากองทัพของพระนเรศวรมากระชั้นชิดแล้ว จนกระทั่งทั้งสองมาเผชิญหน้ากับที่ แม่น้ำสะโตง ตอนนั้นทัพของไทยได้ข้ามแม่น้ำไปหมดแล้วกำลังจะทำลายสะพานเพื่อไม่ให้ข้าศึกตามได้ ทันใดนั้นเอง พระนเรศวร ทรงมีความคิดว่าการทำลายเพียงแค่สะพานนั้นไม่เพียงพอต่อการหยุดทัพพม่ได้ ท่านจึงได้หยิบพระแสงปืนยาวขึ้นมา จากนั้นก็ยิงข้ามแม่น้ำสะโตงเพื่อปลิดชีพ สุรกรรมา แม่ทัพพม่าจนตายบนคอช้างเลย เมื่อทัพพม่าขาดผู้นำ ทำให้ทัพแตกพ่ายไปจนต้องย้อนกลับไปหงสาวดีอีกครั้งหนึ่ง นั่นทำให้ไทยสามารถซื้อเวลาในการถอยทัพ วางแผน และซ่องสุมกำลังพลในการต่อสู้ต่อไปได้ เรียกได้ว่าตำนานพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงนั้น เป็นตำนานบทสำคัญในการฟื้นฟูเลยก็ว่าได้
เรื่องราวปัจจุบันของพระแสงปืนต้น
ตัดกลับมาในปัจจุบันบางคนอาจจะมีคำถามว่า แล้วพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงนี้ ยังมีอยู่หรือไม่ คำตอบคือไม่แล้วน่าเสียดายพระแสงปืนต้นได้หายไปพร้อมกับกรุงอยุธยา แต่ปัจจุบันได้มีการสร้างจำลองขึ้นมาใหม่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว เพื่อเป็นเครื่องประกอบพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ส่วนใครอยากจะไปเห็นลองเข้าไปดูได้ ณ พิพิธภัณฑ์พระแสงปืน ชั้นล่างของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท กรุงเทพ